10 ประการสำคัญในอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก
(UNESCO Global Geoparks)
ทรัพยากรธรรมชาติ
ธรณีพิบัติภัย
การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
การศึกษา
วิทยาศาสตร์
วัฒนธรรม
สุภาพสตรี
การพัฒนาอย่างยั่งยืน
ภูมิปัญญาของชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น
การอนุรักษ์ธรณีวิทยา
1. ทรัพยากรธรรมชาติ ความเจริญรุ่งเรืองของมนุษย์เกิดขึ้นจากการน าทรัพยากรธรรมชาติจากเปลือกโลกมาใช้เป็น พื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทรัพยากรธรรมชาติดังกล่าวประกอบด้วย แร่ น้ ามัน ก๊าซธรรมชาติ ธาตุหายาก พลังงานความร้อนใต้พิภพ อากาศ และน้ า การใช้ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้อย่างยั่งยืนเป็น สิ่งจ าเป็นเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของสังคมในอนาคต ธาตุที่พบบนโลกมีต้นก าเนิดจากธรณีวิทยาและกระบวนการ ทางธรณีวิทยาซึ่งเป็นสิ่งที่ใช้แล้วหมดไปและต้องมีการใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาด อุทยานธรณีโลกของ ยูเนสโกท าให้ประชาชนทราบถึงความต้องการและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ทั้งการท าเหมืองแร่ การท าเหมืองหิน หรือการใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อม ในขณะเดียวกันก็เป็นการสนับสนุนให้ใส่ใจ สิ่งแวดล้อมและความสมบูรณ์ของภูมิประเทศด้วย
2. ธรณีพิบัติภัย อุทยานธรณีโลกของยูเนสโกหลายแห่งส่งเสริมให้เกิดความตระหนักถึงธรณีพิบัติภัย ได้แก่ การเกิดภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว และสึนามิ และยังช่วยท าให้เกิดการเตรียมยุทธศาสตร์การรับมือภัยพิบัติ ในชุมชนท้องถิ่น จากการท ากิจกรรมที่ให้ความรู้แก่ประชาชนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว อุทยานธรณีโลกของ ยูเนสโกหลายแห่งสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับต้นก าเนิดการเกิดธรณีพิบัติภัยและแนวทางการลดผลกระทบ รวมทั้งยุทธศาสตร์รองรับพิบัติภัย สิ่งเหล่านี้ช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถและการเตรียมความพร้อม แก่ชุมชนให้มีความรู้และทักษะในการตอบสนองกับธรณีพิบัติภัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อุทยานธรณีโลกของยูเนสโกเป็นแหล่งบันทึกการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอดีต และ เป็นแหล่งศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน รวมถึงการยอมรับแนวทางการปฏิบัติที่ดีที่สุด ในการใช้พลังงานประเภทที่เกิดขึ้นใหม่ได้ และการใช้มาตรฐานที่ดีที่สุดของ “การท่องเที่ยวสีเขียว (Green tourism)” อุทยานธรณีโลกของยูเนสโกบางแห่งส่งเสริมการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นผ่านโครงการ นวัตกรรมต่างๆ บางแห่งเสมือนเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งโดยให้ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบการเปลี่ยนแปลง สภาพทางภูมิอากาศในปัจจุบัน ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมได้ทราบว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้นส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของเราอย่างไร กิจกรรมและโครงการของชุมชนและสถาบันการศึกษา มีความส าคัญอย่างยิ่งในการเพิ่มความตระหนักถึงผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจเกิดขึ้นใน ภูมิภาค อีกทั้งเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการบรรเทาและการปรับตัวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศแก่ชุมชนท้องถิ่นด้วย
4. การศึกษา อุทยานธรณีโลกของยูเนสโกมีความจ าเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาและด าเนินกิจกรรมทาง การศึกษาให้แก่ประชาชนทุกวัย เพื่อเผยแพร่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับมรดกทางธรณีวิทยา และความเชื่อมโยง ของมรดกทางธรณีวิทยากับด้านอื่นๆ เช่น มรดกทางธรรมชาติ มรดกทางวัฒนธรรม และมรดกที่แตะต้องไม่ได้ ของโลก อุทยานธรณีโลกของยูเนสโกต้องจัดกิจกรรมการสอนหรือกิจกรรมพิเศษส าหรับเยาวชน อาทิ ค่ายเยาวชน (Kids Clubs) หรือวันสนุกสุขสันต์กับซากดึกด าบรรพ์ (Fossil Fun Days) นอกจากนี้ อุทยานธรณีโลกของ ยูเนสโกยังต้องให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไปและผู้สูงวัยที่เกษียณอายุแล้ว ทั้งในรูปแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ อีกทั้งมีการฝึกอบรมให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น เพื่อสามารถน าความรู้ไปเผยแพร่แก่ผู้อื่นต่อไป
5. วิทยาศาสตร์ อุทยานธรณีโลกของยูเนสโกเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งมรดกทางธรณีวิทยาหรือความหลากหลายทาง ธรณีวิทยาที่มีความส าคัญระดับนานาชาติ ดังนั้นจึงมีความจ าเป็นอย่างยิ่งที่อุทยานธรณีโลกจะต้องได้รับ การสนับสนุนให้มีการท างานร่วมกับสถาบันทางวิชาการในการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์โลกและ สาขาอื่นๆ เพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับโลกและกระบวนการเกิดโลก อุทยานธรณีโลกของยูเนสโกไม่ใช่พิพิธภัณฑ์ แต่เป็นห้องปฏิบัติการที่สร้างความร่วมมือทางด้านวิทยาศาสตร์จากงานวิจัยทางวิชาการระดับสูงลงมาสู่ผู้เยี่ยมชม ที่ให้ความสนใจทั่วไป ประการหนึ่งที่ต้องพึงระวัง คือ หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์ใน แผ่นป้าย สัญลักษณ์ แผ่นพับ แผนที่ และหนังสือที่จัดท าขึ้นเพื่อเผยแพร่ให้กับบุคคลทั่วไป
6. วัฒนธรรม คำขวัญของอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก คือ “ร่วมอนุรักษ์มรดกโลก ร่วมรักษาชุมชนท้องถิ่น ให้ยั่งยืน” อุทยานธรณีโลกของยูเนสโกมีพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับประชาชนและความเชื่อมโยงระหว่างชุมชนกับ โลก โลกถือเป็นตัวก าหนดวิถีชีวิตของมนุษย์ เช่น การท าเกษตรกรรม วัสดุก่อสร้าง และวิธีการสร้างบ้านของ มนุษย์ รวมทั้งต านาน ความเชื่อ และขนบท าเนียมประเพณีพื้นบ้านต่างๆ ดังนั้น อุทยานธรณีโลกของยูเนสโก จึงเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกิจกรรมเหล่านี้ อุทยานธรณีโลกของยูเนสโกหลายแห่งมีความเชื่อมโยง อย่างลึกซึ้งกับศิลปะชุมชน ซึ่งเมื่อน าศิลปะและวิทยาศาสตร์มาผสมผสานกันจะได้ผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยม
7. สุภาพสตรี อุทยานธรณีโลกของยูเนสโกให้ความส าคัญกับบทบาทของสตรี โดยมีช่องทางการจัดหลักสูตร ทางการศึกษาหรือกิจกรรมที่มีส่วนร่วมของสุภาพสตรี อุทยานธรณีโลกของยูเนสโกถือเป็นช่องทางหนึ่งใน การพัฒนา สนับสนุน และส่งเสริมผลิตภัณฑ์จากอุตสาหกรรมครัวเรือนและผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมของท้องถิ่น กลุ่มสหกรณ์สตรีในอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกบางแห่งเปิดโอกาสให้สตรีเพิ่มรายได้ให้กับตนเองและชุมชน เช่น การบริการด้านที่พักให้แก่นักท่องเที่ยว
8. การพัฒนาอย่างยั่งยืน แม้ว่าพื้นที่จะมีมรดกทางธรณีวิทยาที่โดดเด่น มีคุณค่า และมีชื่อเสียงระดับโลกอย่างมากก็ตาม พื้นที่นั้นก็ไม่สามารถเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกได้ หากไม่มีแผนพัฒนาและบริหารจัดการอย่างยั่งยืนส าหรับ ชุมชนท้องถิ่นในบริเวณนั้น ทั้งนี้อาจด าเนินการในรูปแบบของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เช่น การพัฒนาเส้นทาง เดินหรือเส้นทางปั่นจักรยาน การฝึกอบรมบุคลากรในท้องถิ่นเพื่อเป็นมัคคุเทศก์ การส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว และสิ่งอ านวยความสะดวกต่างๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ตามหลักปฏิบัติที่เป็นเลิศ ตามมาตรฐานสากล ทั้งนี้สามารถให้ความร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นและเคารพวิถีชีวิตดั้งเดิมโดยให้อ านาจและ เคารพในเกียรติและสิทธิมนุษยชนของพวกเขา หากอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกไม่ได้รับการสนับสนุนจาก ประชาชนในท้องถิ่นก็จะไม่ประสบผลส าเร็จ อุทยานธรณีโลกของยูเนสโกไม่ได้ก าหนดเงื่อนไขหรือข้อบังคับใน การด าเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในบริเวณอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก แต่ให้ปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศ ภูมิภาค ท้องถิ่น หรือชนพื้นเมืองที่มีอยู่เดิม
9. ภูมิปัญญาของท้องถิ่นและชนพื้นเมือง อุทยานธรณีโลกของยูเนสโกมีความเกี่ยวพันอย่างเข้มแข็งกับคนในท้องถิ่นและชนพื้นเมืองใน การอนุรักษ์และยกย่องวัฒนธรรมของกลุ่มคนเหล่านี้ อุทยานธรณีโลกของยูเนสโกควรให้ความส าคัญของชุมชน ท้องถิ่นและชนพื้นเมือง รวมไปถึงวัฒนธรรมและความเชื่อมโยงระหว่างชุมชนกับผืนแผ่นดินของพวกเขาเหล่านั้น หลักเกณฑ์หนึ่งของอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก คือ ความรู้ที่เกี่ยวกับชุมชนท้องถิ่นและชนพื้นเมือง รวมถึง แนวทางปฏิบัติและระบบบริหารจัดการควบคู่ไปกับด้านวิทยาศาสตร์ จะต้องปรากฏอยู่ในแผนบริหารจัดการ ในพื้นที่ด้วย
10.การอนุรักษ์ธรณีวิทยา อุทยานธรณีโลกของยูเนสโกเป็นพื้นที่ที่มีแนวคิดในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ให้คุณค่ามรดกของ แผ่นดิน และสร้างจิตส านึกที่ต้องการจะอนุรักษ์สิ่งเหล่านี้ แหล่งธรณีวิทยาในอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกอยู่ ภายใต้การดูแลและคุ้มครองโดยกฎหมายของชนพื้นเมือง ท้องถิ่น ภูมิภาค และ/หรือประเทศนั้น และด าเนินการ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการติดตามและบ ารุงรักษาแหล่งธรณีวิทยาดังกล่าว มาตรการป้องกันที่เหมาะสม ส าหรับแต่ละแหล่งธรณีวิทยาก าหนดไว้ในแผนบริหารจัดการของแต่ละพื้นที่ องค์กรที่มีหน้าที่บริหารจัดการ ของอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการขายวัตถุทางธรณีวิทยา เช่น ซากดึกด าบรรพ์ แร่ หินขัดมัน และหินประดับ รวมถึงไม่ส่งเสริมการค้าขายวัตถุทางธรณีวิทยาที่ท าให้เกิดความไม่ยั่งยืนทุกรูปแบบ ทั้งนี้ไม่รวมถึงวัสดุที่ใช้ในครัวเรือนและอุตสาหกรรมทั่วไปที่ผลิตจากเหมืองหิน และ/หรือเหมืองแร่ และต้องอยู่ ภายใต้ข้อกฎหมายของประเทศ และ/หรือระหว่างประเทศ การจัดเก็บตัวอย่างวัตถุทางธรณีวิทยาจากแหล่งที่สามารถหาทดแทนได้ตามธรรมชาติ และ อยู่ในพื้นที่อุทยานธรณีโลกของยูเนสโก ภายใต้เงื่อนไขและสถานการณ์ที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นการด าเนินการเพื่อ วัตถุประสงค์ทางด้านวิทยาศาสตร์และการศึกษา โดยองค์กรที่มีหน้าที่ในการบริหารจัดการอุทยานธรณีโลกของ ยูเนสโกอาจอนุญาตให้ด าเนินการดังกล่าวได้ การค้าขายแลกเปลี่ยนวัตถุทางธรณีวิทยา (พิจารณาควบคู่กับ กฎหมายระดับชาติในการอนุรักษ์มรดกของโลก) อาจสามารถด าเนินการได้ภายใต้เงื่อนไขเฉพาะ คือ สามารถ อธิบายให้กับประชาชนได้อย่างชัดเจนและคิดว่าดีที่สุดแล้วส าหรับอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกที่เกี่ยวกับ สถานการณ์ท้องถิ่น ทั้งนี้ จะต้องขึ้นกับการหารือและอนุญาตเป็นรายกรณี